ทฤษฎี : กระบวนการบริหาร POSDCoRB
ประวัติของนักทฤษฎี Luther Halsey Gulick ลูเธอร์ กูลิค มีชื่อเต็มว่า Luther Halsey Gulick, III เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1892 (พ.ศ. 2435) อายุน้อยกว่าเออร์วิค 1 ปี แต่มีผลงานร่วมกัน เป็นคนอเมริกัน แต่ไปเกิดที่เมือง Osaka ประเทศญี่ปุ่น การศึกษาท่านจบปริญญาตรีในปี ค.ศ. 1914 และปริญญาเอกจาก Columbia University ในปี ค.ศ. 1920 จุดเด่นก็คือ ทฤษฎีองค์กร (Organization Theory)
อย่างที่ว่ากูลิคเกิดในญี่ปุ่นเพราะพ่อเป็นมิชชั่นนารี หรือหมอสอนศาสนาอยู่ที่นั่น เกิดแล้วก็อยู่ที่ญี่ปุ่น 12 ปี จึงกลับมาอเมริกา จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดประกายความคิดของกูลิคมีลักษณะเหมือนเทย์เลอร์ตรงที่ไปเห็นสภาพการทำงานของคนงานในโรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพก็เลยเกิดแรงบันดาลใจ
ท่านเคยทำงานให้กับรัฐวิสาหกิจของอเมริกา และได้วิพากษ์วิจารณ์ไว้ว่า การทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพไม่ใช่ว่าจะแสดงถึงความขี้เกียจอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงการขี้โกงด้วย เพราะการขี้เกียจก็เท่ากับโกงเวลาของราชการ หรือก็คือการคอรับชั่นเวลานั่นเอง
นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารของรัฐบริหารงานแย่ รู้ว่าคนงานทำงานไม่เป็นก็ยังไม่มีการฝึกอบรม และบริหารงานกันแบบไม่โปร่งใส ว่ากันตามอำเภอใจ ขาดการตรวจสอบ และยังขาดความรับผิดชอบ ท่านวิจารณ์ความเหลวแหลกจนหน่วยงานที่ท่านทำอยู่สัญญาจะปรับปรุงให้ดีขึ้น
ด้วยแนวความคิดและความสนใจในช่วงเวลานั้นไปเหมือนกับเออร์วิคท่านทั้งสองจึงช่วยกันพัฒนา The Theory of Organization ขึ้นมาจนได้รับการยอมรับและถือเป็นแนวทางการบริหารจัดการองค์กรมาจนถึงปัจจุบัน ท่านได้กำหนดแนวทางไว้ 7 ประการ เป็นตัวย่อ POSTCoRB ที่ความหมายดูได้จากเรื่องราวของเออร์วิค
กูลิคเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ส่วนหนึ่งของหนังสือที่กูลิคเขียนไว้ โดยที่ไม่รวมกับเออร์วิคก็มี
The Efficient Life
Mind And Work
Medical inspection of schools
The Metropolitan Problem and American Ideas
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://oknation.nationtv.tv/blog/manage/2015/12/26/entry-2
ลินดัลล์ เออร์วิค (Lyndall Urwick) ผู้ปรับแนวทฤษฎีองค์กรคนสำคัญ
ลินดัลล์ เออร์วิคเกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) ที่ Worcestershire ประเทศอังกฤษ เป็นคนอังกฤษ สำเร็จปริญญาตรีจากออกซ์ฟอร์ด (Oxford) จุดเด่นในที่นี้ก็คือ ทฤษฎีองค์กร (Organization Theory)
ลินดัลล์ เออร์วิคเกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) ที่ Worcestershire ประเทศอังกฤษ เป็นคนอังกฤษ สำเร็จปริญญาตรีจากออกซ์ฟอร์ด (Oxford) จุดเด่นในที่นี้ก็คือ ทฤษฎีองค์กร (Organization Theory)
ตามปกติเมื่อพูดถึงเออร์วิคก็ต้องพูดถึงกูลิค พร้อม ๆ กันเพราะผลงานของทั้งสองโด่งดังมากในเรื่องทฤษฎีองค์กร (Organization Theory) แต่การเขียนที่มาที่ไปของทั้งสองท่านพร้อมกันค่อนข้างยากจึงขอเขียนแยกไว้ในบทความนี้ ส่วนเรื่องทฤษฎีองค์กรแบบของทั้งสองท่านจะเขียนไว้ที่นี่ที่เดียว
หลังจากจบการศึกษาท่านไปทำงานกับกองทัพในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ท่านอยู่กับกองทัพจนได้ยศพันตรี จากการเป็นทหารส่งผลต่อแนวคิดและทฤษฎีด้านการบริหารจัดการของท่านเป็นอย่างมาก หลังสงครามท่านก็มาช่วยพ่อทำงานที่โรงงานช็อกโกแลตโดยมีหน้าที่บริหารจัดการโรงงานให้มีความทันสมัย ช่วงเวลาตรงนี้เองที่ท่านเริ่มมีผลงานออกมาเป็นบทความ
จากชื่อเสียงด้านการเป็นนักคิดในช่วงระหว่างเวลานี้ ในปี ค.ศ. 1928 ท่านจึงย้ายไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันการบริหารนานาชาติที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แม้จะเป็นช่วงสั้น ๆ แต่ก็ทำให้ เออร์วิคออกผลงานเป็นหนังสือ 2 เล่มคือ The Meaning of Rationalization และ The Management of Tomorrow
เมื่ออยู่ได้ 5 ปีสถาบันก็ปิดไป ท่านจึงกลับมาอังกฤษในปี ค.ศ. 1933 แล้วมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาชื่อ Orr and Partners ซึ่งพอดีกับระบบการบริหารการศึกษาในประเทศอังกฤษตอนนั้นไม่ค่อยได้เรื่อง แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยชั้นนำของอังกฤษอย่างออกซ์ฟอร์ด ยังถูกประชาชนตำหนิเรื่องระบบการเรียนการสอน ท่านจึงได้ตั้งบริษัทที่ปรึกษาร่วมกับเพื่อนและได้มีส่วนร่วมในการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาของอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1937 ท่านได้ร่วมกับ Luther Gulick ออกบทความThe Principles of Administration Approach ในนิตยสาร The Science of Administration และในช่วงดังกล่าวได้วางแนวความคิดการบริหารจัดการที่มององค์กรเหมือนเครื่องจักร และผู้บริหารจะต้องเดินตามกฎเกณฑ์ต่างๆที่วางไว้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร ซึ่งในบทความของท่านทั้งสองนั้นมีเรื่องเกี่ยวกับ The Theory of Organization ที่บอกหน้าที่ของผู้จัดการไว้
เป็นที่กล่าวกันว่าแนวความคิดของทั้งสองท่านนี้ประยุกต์เพิ่มเติมมาจากแนวความคิดที่ปรมาจารย์เฟโยลบัญญัติเอาไว้ โดยต่อยอดให้ชัดเจนขึ้น นอกจากนั้นยังมาจากปรมาจารย์ที่ท่านชอบในหลักการคือ Frederick Winslow Taylor เกี่ยวกับทฤษฎี Scientific Management ความจริงแล้วข่าวบอกว่าท่านชมชอบในผลงานของท่านฟอลเล็ทเป็นอย่างมาก แม้ว่าท่านฟอลเล็ทจะขัดกับท่านเทย์เลอร์ก็ตาม ซึ่งตรงนี้นี่เองที่ทำให้แนวทางของ เออร์วิคไม่ได้หนักแน่นเหมือนเฟโยลและเทย์เลอร์
กูลิค และ เออร์วิกค์ ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ เอาไว้ในหนังสือชืื่อ "Paper on the Science of Administration ) ชื่อว่า "POSDCoRB" ภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ คือ
1. Planning การวางแผน ได้แก่ การจัดวางโครงการและแผนงานต่างๆ ขึ ้นมาไว้ ล่วงหน้าเพื่อทราบว่า ต้องการทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร ใครเป็นผู้ทำ ทำร่วมกับใคร และ ต้องการผลสำเร็จออกมาอย่างไร
2. Organizing การจัดองค์การ ได้แก่ ได้แก่ การแบ่งงาน การกำหนดส่วนงาน ก าหนดโครงสร้างขององค์การ การกำหนดตำแหน่งงานต่างๆ พร้อมกับอ านาจหน้าที่และขอบเขต ของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขึ ้นมาไว้อย่างชัดเจนและมีเอกภาพในการบังคับบัญชาเพื่อ เป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงานร่วมกันของคนในองค์การ
3. Staffing การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์การ นับตั ้งแต่ การจัด อัตราก าลัง การสรรหา การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งบุคคล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน การโยกย้าย การพัฒนาบุคคลในองค์การเรื่อยไปจนกระทั่งการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง
4. Directing การอำนวยการ ได้แก่การท าหน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ การออกค าสั่ง มอบหมายภารกิจการงานไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หลังจากนั ้นต้องใช้ภาวะของการ เป็ นผู้น าในการกระตุ้นจูงใจคนให้ยอมรับในผู้บริหาร ยอมทุ่มเทชีวิตจิตใจความรู้ความสามารถ ท างานอย่างเต็มที่เพื่อความส าเร็จขององค์การ
5. Coordinating การประสานงาน ได้แก่ การทำน้าที่ในการประสาน กิจกรรมต่างๆ ที่ได้มีการแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนงานย่อยๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถท างาน ประสานสอดคล้องกัน และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการท างานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยรวมขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
6. Reporting การรายงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการรับฟังรายงานผลการฏิบัติ งานของบุคคลและหน่วยงานที่เป็ นผู้ใต้บังคับบัญชาได้รายงานมา เพื่อทราบถึงความเคลื่อนไหว ของงานส่วนต่างๆว่า งานต่างๆ สามารถด าเนินไปตามแผนงานที่ก าหนดไว้หรือไม่เพียงใด การรายงานถือเป็นมาตราการในการตรวจสอบและควบคุมงานด้วย
7. Budgeting การงบประมาณ ได้แก่ หน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดท างบประมาณ การจัดท าบัญชีการใช้จ่ายเงินและการตรวจสอบควบคุมด้านการเงิน การบัญชีของหน่วยงาน นั่นเอง โดยปกติแล้วงบประมาณ ถือว่าเป็ นแผนงานชนิดหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมโครงการ ต่างๆ ที่องค์การจะปฏิบัติจัดทำในระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้
ที่มาของข้อมูล :
https://mgtsharing.files.wordpress.com/2012/09/posdcorb.pdf
https://hillside.net/plop/2013/papers/proceedings/papers/chalekian.pdf
http://www.savap.org.pk/journals/ARInt./Vol.2(2)/2012(2.2-34).pdf
งานวิจัยที่นำทฤ.บริหารจัดการมาใช้ในองค์กร ECT หรือ ICT (งานวิจัยในประเทศไทย 1 เรือ่ง และงานวิจัยในต่างประเทศ เป็นภาษาอังกฤษ 1 เรื่อง)
- จะนำ ทฤ. บริหารจัดการนั้นมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการองค์กรทาง ECT ได้อย่างไร
https://hillside.net/plop/2013/papers/proceedings/papers/chalekian.pdf
http://www.savap.org.pk/journals/ARInt./Vol.2(2)/2012(2.2-34).pdf
งานวิจัยที่นำทฤ.บริหารจัดการมาใช้ในองค์กร ECT หรือ ICT (งานวิจัยในประเทศไทย 1 เรือ่ง และงานวิจัยในต่างประเทศ เป็นภาษาอังกฤษ 1 เรื่อง)
- จะนำ ทฤ. บริหารจัดการนั้นมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการองค์กรทาง ECT ได้อย่างไร
บทความทางวิชาการเรื่อง
หลักธรรมกับการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลงาน โดย พ.ต.ท.หญิง รัชทรสุวรรณกูฎ
จากบทความนี้ พ.ต.ท.หญิง รัชทรสุวรรณกูฎ ได้กล่าวถึงทฤษฎี POSDCoRB ว่าหากจะบริหารงานให้สำเร็จแบบมุ่งเน้นตัวผลงานนั้น ควรใช้หลักทฤษฎี POSDCoRB ควบคู่ไปกับ "หลักการใช้ธรรมะในการบริหารงาน แบบมุ่งเน้นผลงาน" เช่น หลักความสัมฤทธิ์ของงาน(อิทธิบาท4) , หลักธรรมของผู้บริหาร , หลักธรรมของผู้ดำเนินงาน เป็นต้น ซึ่งสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ training.p3.police.go.th/doc/tome3.pdf
http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/3037/03chapter2.pdf
2.การนำ POSDCoRB ในฐานะเครื่องมือทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
https://gsbooks.gs.kku.ac.th/54/grc12/files/hmo10.pdf
งานวิจัยที่นำ ทฤษฎี POSDCoRB มาใช้
1.แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต2http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/3037/03chapter2.pdf
2.การนำ POSDCoRB ในฐานะเครื่องมือทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
https://gsbooks.gs.kku.ac.th/54/grc12/files/hmo10.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น